การเคลื่อนที่ของแมลง
การเคลื่อนที่ของแมลง
- แมลง (insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแต่แมลงมีโครงร่างภายนอก (exoskeleton) ซึ่งเป็นสารพวกไคทินมีลักษณะเป็นโพรงเกาะกันด้วยข้อต่อซึ่งเป็นเยื่อที่งอได้ ข้อต่อข้อแรกของขากับลำตัว เป็นข้อต่อแบบบอลแอนด์ซอกเก็ต (ball and socket) ส่วนข้อต่อแบบอื่นๆ เป็นแบบ บานพับ การเคลื่อนไหวเกิดจากทำงานสลับกันของกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) และเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ซึ่งเกาะอยู่โพรงไคทินนี้ โดยกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) ทำหน้าที่ในการงอขา และกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ทำหน้าที่ในการเหยียดขา ซึ่งการทำงานเป็นแบบแอนทาโกนิซึม (antagonism) เหมือนกับคน
รูปตำแหน่งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของตั๊กแตน
ที่มา : สสวท. ชีววิทยา เล่ม 3 2547 :
7
แมลงเป็นสัตว์ขนาดเล็ก
มีลำตัวเบา แต่มีปีกขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว แมลงมีระบบกล้ามเนื้อเป็น 2 แบบ
คือ
1. ระบบกล้ามเนื้อที่ติดต่อกับโคนปีกโดยตรง
มีกล้ามเนื้อคู่หนึ่งเกาะอยู่ที่โคนปีกด้านในและส่วนท้องเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หด
ตัวจะทำให้ปีกยกขึ้น
และกล้ามเนื้ออีกคู่หนึ่งเกาะอยู่กับโคนปีกด้านนอกและส่วนท้องเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้
หดตัวจะทำให้ปีกลดตัวต่ำลง การทำงานของกล้ามเนื้อมัดนี้เป็นแบบแอนทาโกนิซึม (antagonism) ทำให้ปีกของแมลงยกขึ้นและกดลง
จึงทำให้เกิดการบินขึ้นได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น แมลงปอ
ผีเสื้อ
2. ระบบกล้ามเนื้อที่ไม่ติดต่อกับปีกโดยตรง
ระบบ กล้ามเนื้อที่ไม่ติดกับปีกโดยตรง
แต่ติดต่อกับผนังส่วนอก กล้ามเนื้อคู่หนึ่งเป็นกล้ามเนื้อตามขวาง
โดยเกาะอยู่กับผนังด้านบนของส่วนอกกับผนังด้านล่างของส่วนอก
เมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัวทำให้ช่องอกแคบเข้าและลดต่ำลงเกิดการยกปีกขึ้น
ส่วนกล้ามเนื้ออีกคู่หนึ่งจะเป็นกล้ามเนื้อตามยาวไปตามลำตัวเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัว
ทำให้ช่วงอกยกสูงขึ้นทำให้กดปีกลงด้านล่าง
การทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสองคู่นี้จะทำงานประสานกันเป็นแบบ แอนทาโกนิซึม (antagonism)
จึงทำให้ปีกขยับขึ้นลงและบินไปได้ ได้แก่ แมลง
รูปการทำงานของกล้ามเนื้อของแมลงขณะยกปีกขึ้นและขณะกดปีกลง
ที่มา : สสวท. ชีววิทยา เล่ม 3, 2547 : 10
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น