การเคลื่อนที่ของเสือชีต้า





การเคลื่อนที่ของเสือชีต้า
 

ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของเสือชีต้า
             เสือชีต้ามีกล้ามเนื้อขาทั้งสี่ที่แข็งแรงมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาหลังจะแข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ในการกระโดด  นอกจากนี้กระดูกสันหลังของเสือชีต้าก็ช่วยได้มาก  เนื่องจากมีขนาดยาวและเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ดี  ทำให้ช่วงการก้าวของขาหน้าและขาหลังห่างกันมาก  มันจึงวิ่งได้เร็ว  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยให้ความถี่และความแรงของการก้าวสูง  เสือชีต้าจึงวิ่งได้เร็วมาก 


             ในกรณีของสัตว์ที่มีขาสั้น  เช่น  จิ้งจก ตุ๊กแก  การเคลื่อนที่อาศัยการก้าวขาที่ไม่พร้อมกัน  ทำให้เกิดการโค้งไปโค้งมาของส่วนร่างกายเป็นรูปตัว S   สำหรับงูไม่มีรยางค์หรือขา  การเคลื่อนที่ก็อาศัยกล้ามเนื้อและโครงกระดูก  หดตัวและเคลื่อนที่กลับไปกลับมา  ที่เรียกว่า  การเลื้อย 




ภาพแสดงการเคลื่อนที่รูปตัว S ของสัตว์เลื้อยคลาน
 
--> ปลา (ลำตัวเรียวแบน มีเมือกลื่น ช่วยลดแรงเสียดทาน มีครีบใช้บังคับทิศทางไป, พยุงลำตัวเคลื่อนที่ขึ้นลงแนวดิ่ง และถุงลม (Air bladder) ช่วยลอยตัว มีแถบกล้ามเนื้อยึดกระดูกสันหลัง 2 ข้าง ทำงานแบบ antagonism เคลื่อนที่แบบตัว S)
--> นก (น้ำหนักตัวเบา กระดูกกลวง มีถุงลม ปีกที่มีโครงสร้างแบบ air foil ขนแบบ feather บินโดยใช้กล้ามเนื้อ 2 ชุด ทำงานแบบ antagonism)
--> เสือชีตาร์ (เคลื่อนที่เร็วประมาณ 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยสันหลังจะมีส่วนสำคัญ ในการช่วยสปริงตัว ระยะยืดของช่วงกว้างของขา)









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ

การเคลื่อนที่ของกบและเป็ดในน้ำ