บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2012

การเคลื่อนที่ของนก

รูปภาพ
3.การเคลื่อนที่ของนก              นกมีกระดูกที่กลวง    ทำให้ตัวเบา   และอัดตัวกันแน่น   ทำให้นกมีขนาดเล็ก   และรูปร่างเพรียวลมจึงเคลื่อนตัวไปในอากาศได้ดี              นกมีกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขยับปีกที่แข็งแรงโดยกล้ามเนื้อนี้จะยึดอยู่ระหว่างโคนปีกกับกระดูกอก (keel or sternum) กล้ามเนื้อคู่หนึ่ง ทำหน้าที่ เป็น กล้ามเนื้อยกปีก (levater muscle)   คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์ (pectorlis minor) และกล้ามเนื้ออีกคู่มีขนาดใหญ่มากทำหน้าที่ในการหุบปีกลง (depresser muscle) คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์ (pectorralis major)    การทำงานของกล้ามเนื้อคู่นี้มีลักษณะเป็นแอนทาโกนิซึมด้วย คือ ขณะที่นกกดปีกลง กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะหดตัว   ส่วน เพกทอราลิสไมเนอร์จะคลายตัวขณะที่นกยกปีกขึ้นกล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์จะ หดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะคลายตัวสลับกันไป   ภาพนกแสดงปีกขนที่ปีกและกล้าม...

การเคลื่อนที่ของกบและเป็ดในน้ำ

รูปภาพ
2.การเคลื่อนที่ของกบและเป็ดในน้ำ   รูปกบและเป็ดที่บริเวณนิ้วเท้าจะเป็น " web"               กบและเป็ดขณะที่เคลื่อนไหวในน้ำ จะใช้โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ    ยึดติดอยู่ระหว่างนิ้วเท้าช่วยโบกพัดน้ำทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าได้เรียกว่า web ถ้าเป็นการกระโดดของกบจะใช้ขาหลังทั้งสองในการดีดตัวไปข้างหน้า

การเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ

รูปภาพ
1.การเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ              โลมาและวาฬมีขนาดใหญ่กว่าปลาทั่ว ๆ ไปมากและมีรูปร่างเพรียวเหมือนปลา     มีส่วนกระดูกคอสั้น    ทำให้กลมกลืนระหว่างลำตัวกับหัว    ขาคู่หน้าเปลี่ยนไปเป็นครีบ ช่วยในการว่ายน้ำ   และขาคู่หลังก็หดหายไป    แต่มีหางที่แบนขนาดใหญ่ขนานกับพื้น   การเคลื่อนที่ใช้การตวัดหาง   และใช้ครีบหน้าช่วยในการพยุงตัว   ทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี              สัตว์กลุ่มนี้จะมีขาคู่หน้าที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะเป็นพาย เรียกว่า   ฟลิปเปอร์    ( flipper )   ช่วยในการโบกพัดร่วมกับส่วนประกอบอื่นของร่างกาย   ทำให้มันเคลื่อนที่ไปในน้ำเป็นอย่างดี      ภาพแมวน้ำและเต่าที่มีขาคู่หน้าลักษณะเป็นพายเรียกว่า " flipper"

การเคลื่อนที่ของแมลง

รูปภาพ
การเคลื่อนที่ของแมลง แมลง (insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแต่แมลงมีโครงร่างภายนอก (exoskeleton) ซึ่งเป็นสารพวกไคทินมีลักษณะเป็นโพรงเกาะกันด้วยข้อต่อซึ่งเป็นเยื่อที่งอได้ ข้อต่อข้อแรกของขากับลำตัว เป็นข้อต่อแบบบอลแอนด์ซอกเก็ต (ball and socket) ส่วนข้อต่อแบบอื่นๆ เป็นแบบ บานพับ การเคลื่อนไหวเกิดจากทำงานสลับกันของกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) และเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ซึ่งเกาะอยู่โพรงไคทินนี้ โดยกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) ทำหน้าที่ในการงอขา และกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ทำหน้าที่ในการเหยียดขา ซึ่งการทำงานเป็นแบบแอนทาโกนิซึม (antagonism) เหมือนกับคน รูป ตำแหน่งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของตั๊กแตน ที่มา : สสวท. ชีววิทยา เล่ม 3 2547 : 7 แมลงเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลำตัวเบา แต่มีปีกขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว แมลงมีระบบกล้ามเนื้อเป็น 2 แบบ คือ 1. ระบบกล้ามเนื้อที่ติดต่อกับโคนปีกโดยตรง มีกล้ามเนื้อคู่หนึ่งเกาะอยู่ที่โคนปีกด้านในและส่วนท้องเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หด ตัวจะทำให้ปีกยกขึ้น และกล้ามเนื้ออีกคู่หนึ่งเกาะอยู่ก...